คำอธิบายรายวิชา
บอกความยาวเป็นเมตร เซนติเมตร และมิลลิเมตร เลือกเครื่องวัดที่เหมาะสม บอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัมและขีด เลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสม บอกปริมาตรและความจุเป็นลิตร มิลลิลิตร เลือกเครื่องตวงที่เหมาะสม บอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา (ช่วง 5 นาที) บอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว น้ำหนักและเวลา บอกชนิดของรูปเรขาคณิตสองมิติที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งของที่มีลักษณะเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ ระบุรูปเรขาคณิตสองมิติที่มีแกนสมมาตรจากรูปที่กำหนดให้ บอกรูปเรขาคณิตต่างๆที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 3 ทีละ 4 ทีละ 25 ทีละ 50 และลดลง ทีละ 3 ทีละ 4 ทีละ 5 ทีละ 25 ทีละ 50 และแบบรูปซ้ำ บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสีที่สัมพันธ์กันสองลักษณะ รวบรวมและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยและตัวหนังสือ แสดงปริมาณของสิ่งของหรือจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ บวกลบคูณหารและบวกลบคูณหารระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์และสร้างโจทย์ได้ เปรียบเทียบความยาวเป็นเมตร เซนติเมตรและมิลลิเมตรได้ เปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัมและขีดได้ เปรียบเทียบปริมาตรและความจุเป็นลิตร มิลลิลิตร ในหน่วยเดียวกันได้ อ่านและเขียนบอกเวลาโดยใช้จุด อ่านและเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุด แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว การชั่ง การตวง เงินและเวลา อ่านและเขียนบันทึกรายรับรายจ่าย อ่านและเขียนบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่ระบุเวลา เขียนชื่อจุด เส้นตรง รังสี ส่วนของเส้นตรง มุมและเขียนสัญลักษณ์ เขียนรูปเรขาคณิตสองมิติที่กำหนดให้ในแบบต่างๆ อ่านข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งอย่างง่าย
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง เชื่อมโยงความรู้ต่างๆในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง และมีความพอเพียง
รหัสตัวชี้วัด
ค1.1 ป.3/1, ป.3/2 , ค1.2 ป.3/1, ป.3/2, ค2.1 ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5, ป.3/6, ค2.2 ป.3/1,
ป.3/2, ป.3/3,ค3.1 ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ค3.2 ป.3/1, ป.3/2, ค4.1 ป.3/1, ป.3/2, ค5.1 ป.3/1, ป.3/2,
ค6.1 ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5, ป.3/6
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่องเงิน และรายรับรายจ่าย เวลา 18 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 1 ค่าของเงินชนิดต่างๆ เวลา 1 ชั่วโมง
***********************************************************************
มาตรฐาน ต 2.1 | เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด |
ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ค 2.1 ป.3 / 6 อ่านและเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุด
สาระสำคัญ
1. เงินเหรียญที่มีค่าต่างกันจะมีลักษณะต่างกัน
2. ค่าของเงินเหรียญดุได้จากตัวเลขบนเงินเหรียญนั้น ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เมื่อกำหนดเงินเหรียญที่มีค่าต่าง ๆ ให้นักเรียนสามารถจำแนกลักษณะของเงิน
เหรียญชนิดต่าง ๆ ได้
2. เมื่อกำหนดเงินเหรียญที่มีค่าต่าง ๆ ให้ นักเรียนสามารถบอกค่าของเงินเหรียญ
ชนิดนั้นๆ ได้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. กล้าแสดงออกในทางที่ดี
2. มีความมุ่งมั่นพยายาม
3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. มีความสนใจใฝ่เรียนรู้
5. ประหยัดและอยู่อย่างพอเพียง
สาระการเรียนรู้
1. ลักษณะและค่าของเงินเหรียญชนิดต่าง ๆ
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบประเมินผล เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนในเรื่องเงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย
2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเงินเหรียญชนิดต่าง ๆ ที่เคยใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อตรวจสอบความรู้เกี่ยวกับเงินเหรียญ
2. แบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับค่าของเหรียญเงิน
ลักษณะรูปร่างของเงินเหรียญต่าง ๆ โดยดูจากของจริงที่แจกให้ จากนั้นให้พิจารณาแยกเงินเหรียญเป็นกอง ๆ ตามค่าของเงินเหรียญ
4. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารายงานว่ามีเงินเหรียญชนิดใดบ้าง และแต่ละเหรียญมีค่าเป็นเงินเท่าไร ขณะทีเพื่อนรายงาน นักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ช่วยกันคิดตามด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ให้ร่วมพิจารณาแก้ไขและชี้แจงเหตุผล
5. ร่วมกันอภิปรายถึงรูปร่าง ลักษณะ ขนาด ลวดลายที่เด่น ข้อความและตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนเงินเหรียญแต่ละชนิด
6. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียนเกี่ยวกับเงินเหรียญที่มีค่าต่างกันจะมีลักษณะต่างกัน และค่าของเงินเหรียญจะดูได้จากตัวเลขบนเงินเหรียญนั้น ๆ
7. นักเรียนลอกรูปเงินเหรียญต่าง ๆ ลงในสมุดแบบฝึกหัด โดยใช้เงินเหรียญเป็นแบบรูปแต่ละชนิดวางใต้กระดาษ ใช้ดินสอฝนลอกรูปเหรียญบนกระดาษหรือเป็นรูปตามของของเงินเหรียญแต่ละชนิด พร้อมทั้งเขียนข้อความแสดงค่าของเงินเหรียญไว้ภายในรูป
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบประเมินผลก่อนเรียน
2. เงินเหรียญของจริงชนิดต่าง ๆ
การวัดและประเมินผล
1. สังเกตและบันทึกลงในแบบสังเกต
- การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
- การจำแนกเงินเหรียญชนิดต่าง ๆ
- การรายงานบอกค่าของเงินเหรียญชนิดต่าง ๆ
- ความตั้งใจลอกรูปเหรียญแต่ละชนิด
2. ตรวจผลงาน
- แบบทดสอบประเมินผลก่อนเรียน
- การลอกรูปเงินเหรียญชนิดต่าง ๆ
ภาคผนวก
1. แบบทดสอบประเมินผลก่อนเรียน
2. แบบบันทึกการสังเกต